วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎของมัวร์ Moore's law


Moore's law คืออะไร
          กฎของมัวร์ หรือ Moore's   law   คือ กฎที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่าจํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้
           moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น Moore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป
การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน

กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น
 ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม

กฎของมัวร์ (Moore's Law) 
          ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

         พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม

          การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่ม มีพลาน่าทรานซิสเตอร์ 
        คําว่า กฎของมัวร์นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่า จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975
-----------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบเรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์

แบบทดสอบเรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์



**รหัส ASCII และ รหัส Unicode **

รหัส ASCII 
                     เดิมการแทนรหัสฐานสองด้วยพยัญชนะในภาษาต่างๆเป็นการกำหนดกันเอง ขึ้นอยู่กับว่า ใครพัฒนาขึ้นมาทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดไม่สามารถส่งผ่านกันได้  เพราะใช้รหัสในเลขฐานสองไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้สื่อสารกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของรหัสขึ้น สำหรับภาษาอังกฤษ เรียกว่า รหัสแอสกี้ (American Standard Code Interchange , ASCII)


ตา
รางรหัส ASCII แทนตัวอักษร

วิธีการอ่านค่าจากตารางแอสกี

1. ชี้ตรงตัวอักษรที่ต้องการแทนรหัส เช่น ก
2. อ่านค่ารหัสในตารางแนวตั้งตรงตำแหน่ง b7 b6 b5 และ b4 ค่าที่ได้ คือ 1010
3. อ่านค่ารหัสในตารางแนวนอนตรงตำแหน่ง b3 b2 b1 และ b0 ค่าที่ได้ คือ 0001
4. ดังนั้นรหัสแทนข้อมูลของตัวอักษร ก คือ 1010 000


Unicode  
    ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดยUnicode รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด Unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม 


ตัวอย่าง Unicode

Unicode คืออะไร ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และ สัญลักษณ์ต่างๆ


  ตัวอย่างการแทนรหัส ASCII 

JATUPOL KONGWATMAI

0100 1010 = J
0100 0001 = A
0101 0100 = T
0101 0101 = U
0101 0000 = P
0100 1111 = O
0100 1100 = L
 0100 0000 = SPACE BAR
0100 1011 = K
0100 1111 = O
0100 1110 = N
0100 0111 = G
0101 0111 = W
0100 0001 = A
0101 0100 = T
0100 1101 = M
0100 0001 = A
0100 1001 = I


ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 18  byte

แทนด้วยรหัส ASCIIดังนั้น

010010100100000101010100010101010101000001001111010011000100000001001011010011110100111001000111010101110100000101010100010011010100000101001001

ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 144 bit 18 byte







วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

 บิตตรวจสอบ 


   บิตตรวจสอบ คือ เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0หรือ 1เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่อยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบหรือพาริตี้บิตจึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิตซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูล

      สำหรับบิตตรวจสอบมีการตรวจสอบ 2 วิธี คือ
      1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่(Even Parity)
      2.การตรวจสอบบิตภาวะคีี่(Odd Parity)