วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคต่างๆของคอมพิวเตอร์

มารู้จักยุคของคอมพิวเตอร์กัน
ยุคที่ 1

UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
.......................................................................................
ยุคที่ 2
ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง


.......................................................................................
ยุคที่3
ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
เริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969


.......................................................................................
ยุคที่4
ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจ
          ในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น
.......................................................................................
ยุคที่5

เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร
          ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing)
          ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล
โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ
    .......................................................................................

ประวัติบุคคลสำคัญด้านคอมพิวเตอร์

History Computer
 ประวัติของบุคคลสำคัญด้านคอมพิวเตอร์

    1.Charles Babbage
     
         Charles Babbage (26 ธันวาคม 1791 – 18 ตุลาคม 1871) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ 
     ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) เกิดที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร และเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทุนพัฒนาในสาขาต่างๆ อย่างเต็มที่ แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory)
      ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับเซอร์ไอแซคนิวตันและสตีเฟ่น ฮอว์คิง)ต่อมาแบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฏีเท่านั้น เพราะเค้าไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เค้ามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดเค้าทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุกๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842
..................................................
2.Lady Augusta Ada Byron
          เอดา เลิฟเลซ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่น่าเรียนรู้ชีวประวัติท่านเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้หญิงที่เก่งทั้งในด้านกาพย์กลอนและคณิตศาสตร์ และได้รับยกย่องให้เป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกจากผลงานที่ท่านช่วยให้เครื่องจักร analytical engine ที่ออกแบบโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยท่านได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop การเขียนโปรแกรมแบบวนรอบบนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่ใช้แนวคิดนี้แล้วโปรแกรมที่เขียนจะมีความยาวมาก และผิดพลาดได้ง่ายและการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine) เพื่อคำนวณฟังก์ชันก์ย่อยที่ได้ใช้งานบ่อย ๆ ฝังอยู่ในโปรแกรมหลัก โปรแกรมหลักสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในปัจจุับนนี้ทุกภาษาต่างก็มีความสามารถในการวนซึ้า และการใช้โปรแกรมย่อย
    เอดา เลิฟเลซเป็นธิดาของกวี ลอร์ด ไบรอน แต่ท่านได้ไม่เพียงแต่ชอบในการแต่งกลอนเท่านั้น ท่านยังสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย หลังจากศึกษาผลงานเครื่องจักรวิเคราะห์ของ ชาร์ลส์ แบบเบจ  
          ในปี ค.ศ. 1979 กระทรวง สหรัฐอเมริกาได้สร้างภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่าภาษาเอดา "Ada programming language" เพื่อเป็นเกียรติแก่ เอดา จากภาพด้านบน เป็นหนังสือที่เขียนโดยคุณหญิงเอดา ชื่อหนังสือคือ "Ada, The Enchantress of Numbers: เอดากับมนต์เสน่ห์แห่งตัวเลข"
..................................................
3.Herman Hollerith

          ค.ศ. 1884 : ดร.เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
           เมื่อปี ค.ศ. 1880 สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริการได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผล ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้ไม่แน่นอนและไม่ค่อยถูกต้อง ต่อมา ค.ศ. 1890 สำนักงานฯ จึงได้ว่าจ้าง ฮอลเลอริธ มาทำการประมวลผลการสำรวจ ปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่องทำตารางข้อมูล (Tabulating machine) และหีบเรียงบัตร (Sorting) ของฮอลเลอริธแล้ว ใช้เวลาในการประมวลผลลดลงถึง 3 ปี 
           ค.ศ. 1896 : ฮอลเลอริธ ได้ตั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การประมวลผลด้วยบัตรเจาะรู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machines Corporation) ในปี ค.ศ. 1924
..................................................
4.Alan Turing
    


      อลัน ทัวริง เกิดในลอนดอน ปี 1912 บิดาทำงานเป็นข้าราชการอังกฤษที่ต้องประจำในอินเดีย
อลันทัวริงเข้าเรียนที่ King's College ในเคมบริดจ์ เมื่อเรียนจบได้ไม่นานก็เผยแพร่ผลงานเครื่องจักรทัวริง ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลงานของทัวริงที่ปรากฎทำให้รัฐบาลเรียกตัวเขาไปร่วมงานชิ้นสำคัญ ในตอนนั้น รัฐบาลอังกฤษรวบรวมนักคณิตศาสตร์ แชมเปียนหมากรุก นักภาษา นักวิเคราะห์อักขระอียิปต์ และใครก็ตามที่มีผลงานเกี่ยวกับหลักตรรกศาสตร์ เพื่อพยายามถอดรหัสของเครื่องเอนิกมา (Enigma) ซึ่งเป็นรหัสลับที่นาซีใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงสงคราม งานนี้เป็นความลับระดับชาติ หลังจากทัวริงเสียชีวิตไปแล้ว สาธารณชนจึงได้รับรู้ว่าทัวริงมีส่วนในการออกแบบเครื่องมือที่ใช้แกะนาซีโค้ดที่ส่งไปที่ U-boats ในแอตแลนติกเหนือ และมีส่วนช่วยให้แกะรหัสนี้สำเร็จในเวลาต่อมา
      อลัน ทัวริง (Alan Turing) คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย
.................................................
5.Konrad Zuse

          Zuseสร้างคอมพิวเตอร์ Z1เสร็จเครื่องใน 1,938. มันเป็นกลทั้งหมดมีหน่วยคำนวณประกอบด้วยจำนวนมากสวิตช์เครื่องกลและหน่วยความจำประกอบด้วยชั้นของแถบโลหะระหว่างชั้นของกระจก. หนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่สุดของมันแล้วว่าจะเป็นโปรแกรมโดยเทป punched
..................................................
6. Howard H. Aiken


          ในปี ค.ศ. 1931 Howard H.Aiken ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นที่มหาลัยฮาร์วาร์ด โดยอาศัยแนวคิดของบัตรเจาะรูเป็นสื่อนำข้อมูลเข้า พร้อมด้วยการทำงานแบบเครื่องจักรกลไฟฟ้า และการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้เสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1944 ภายใต้การสนับสนุนด้านการเงิน และบุคลากรจากไอบีเอ็ม Mark I จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า IBM. Automatic Setwence Controlled Calculator
..................................................
7.. John V. Atanasoff & Clifford Berry

     Dr.Jobn Vincent Atansoff , Clifford Berry พ.ศ.2480-2481 ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
..................................................
8.Dr. John W. Mauchly & J. Presper Eckert


          John W. Mauchly และ Persper Eckert พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกามีความจำเป็นที่จะต้อง คิดค้นเครื่องช่วยคำนวณ เพื่อใช้คำนวณหาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณที่มี อยู่ในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงในการคำนวณ การยิง 1 ครั้ง ดังนั้นกองทัพจึงให้กองทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert จากหมาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ขึ้นมา โดยนำหลอดสุญยากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง                                   ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น ในด้านของความเร็วนั้น  เครื่องจักกลมีความเฉื่อยของการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนประกอบ แต่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวคลื่อนที่ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าได้ ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของแสง ส่วนความถูกต้องแม่นยำในการทำงานของเครื่องจักรกลอาศัยฟันเฟือง รอก คาน ในการทำงาน ทำให้ทำงานได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย 
..................................................
9.Dr. John Von Neumann

          

      จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์, ทฤษฎีเซ็ต, วิทยาการคอมพิวเตอร์, เศรษฐศาสตร
เขาเป็นบุตรชายคนโต ในพี่น้อง 3 คน เกิดที่เมืองบูดาเปส บิดาเป็นนักการธนาคาร นอยแมนมีชื่อเล่น
เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยบูดาเปสต์ ตอนอายุ 23 ปี
ระหว่างปี ค.ศ. 1926 ถึง 1930 เขาทำงานเป็นอาจารย์อิสระ อยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1930 นอยแมนได้รับเชิญจาก มหาวิทยาลัยปรินซตัน เขาเป็นหนึ่งในหกคน คือ (J W Alexander, A Einstein, M Morse, O Veblen, J von Neumann and H Weyl) ที่ได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ในสถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูง (Institute for Advanced Study) โดยเขาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอยแมนได้มีส่วนร่วมใน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสร้างระเบิดปรมาณู
      นอยแมนเป็นคนคิดสถาปัตยกรรมแบบ วอน นอยแมน ซึ่งใช้กันในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกนี้ เป็นเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน เขาเป็นผู้ริเริ่มสาขา cellular automata และได้สร้างตัวอย่างชุดแรกของ selff-replicating automata โดยใช้แค่กระดาษกราฟ กับ ดินสอธรรมดาๆ คำว่าเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน ยังหมายความถึง เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ (self-replicating machine).
..................................................
10.Ted Hoff

          ปี ค.ศ. 1971 ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย
..................................................
11.Steve Jobs & Steve Wazniak

         สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)
แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC
         สตีเฟน วอซนิแอค (Stephen Wozniak) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลิต  คอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิ้ล เขาได้รับสมญานามว่าเป็นผู้ริเริ่มการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาสามารถประดิษฐ์วิทยุเองตอนอายุ 11 ขวบ และประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ของเขาเองเครื่องแรกสองปีหลังจากนั้น เขาชอบประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอดิเรกของเขา จนกระทั่งเขาพบกับสตีฟ จ๊อบส์ (Steve Jobs) และมีความเห็นตรงกันคือสร้างคอมพิวเตอร์ขายในราคาไม่แพงคงจะประสบความสำเร็จ เขาเปิดที่โรงรถที่บ้านของจ๊อบเป็นที่ออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแม่แบบขึ้นมา และก่อตั้งบริษัทชื่อแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ขึ้นในปี 1976 ความสามารถของคอมพิวเตอร์จากบริษัทแอปเปิ้ลคือแสดงผลภาพกราฟฟิกได้ความละเอียดภาพสูง และยังมีตัวอ่านแผ่นดิสก์แบบบาง (floppy disk) อีกด้วย นอกจากนี้เขากับเพื่อนยังสร้างซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลโดยเฉพาะด้วย เช่น โปรแกรมวิสิแคลค์ จึงทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงนั้น
..................................................
12.Bill Gates

         บิล เกตส์ (Bill Gates) เกิดเมื่อปี 1955 ที่เมืองซีแอทเทิล กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974 ด้วยวัยเพียง 19 ปี แต่พอล อัลเลนได้ออกไปทำธุรกิจของตนเองเมื่อปี 1983
         การประสบความสำเร็จยังยิ่งใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟต์ มาจากการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายและบริษัทได้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (ดังชื่อบริษัท "Microsoft" มาจากคำว่า "microcomputer" + "software") เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Windows รุ่นต่าง ๆ โปรแกรมเว็บราวเซอร์ IE (Internet Explorer) ภาษาเบสิก รวมถึงภาษา VB (Visual Basic) และอื่น ๆ อีกมากมาย







วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต

ชายหาดอ่าวนาง จ.กระบี
     ตั้งอยู่ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ตามถนนเลียบชายทะเลเป็นระยะทาง 6 กม.    ประกอบด้วยชายหาดหลายแห่ง มีภูเขาคั่นระหว่างชายหาด ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาด้านทิศตะวันออกของอ่าวมีถ้ำหินงอกหินย้อย ชื่อ ถ้ำพระนาง และบริเวณด้านหน้าของอ่าวนางมีกลุ่มเกาะน้อยใหญ่ถึง 83 เกาะ ที่เป็นโขดหินรูปร่างแปลกประหลาด บ้างก็คล้ายรองเท้าบู๊ท เรือสำเภา หัวนก และอื่นๆ กลุ่มเกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีชื่อเป็นภาษายาวี เช่น  เกาะหัวขวาน เกาะยาหมัน เกาะบะติงมิ้ง เกาะยาวาซา เกาะล่าดิง เกาะหม้อ เกาะทัพ เกาะไก่ เป็นต้น
     การเที่ยวชมบริเวณอ่าวนางนั้น สามารถเช่าเรือได้ในบริเวณชายหาดอ่าวนาง หรือตามรีสอร์ทต่างๆ ในบริเวณนั้น สถานที่น่าเที่ยวในบริเวณอ่าวนาง ได้แก่ ถ้ำพระนาง สระพระนาง และเกาะทัพ เป็นต้น

ประวัติส่วนตัว


สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อก ของ จตุพล คงวัดใหม่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ
ชื่อเล่น ต้น อายุ 22 คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ผมเข้าศึกษามหาวิทยาลับราชภัฏภูเก็ต มาเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ก่อนหน้านี้ศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
ช่วงปิดเทอมผมก็หางานทำและได้ทำงาน 7 eleven  พี่ๆๆที่ทำงานน่ารักทุกคนผมว่าเหนื่อยแต่มันก็คุ้มทำให้เรารู้จักคุณค่าของการใช้เงิน
ความประทับใจ : ตอนนี้ ก็ชอบสาวในห้องชื่อ cr99uh แต่เห็นว่าเค้ามีแฟนแล้ว แต่เราก็ไม่ท้อที่จะชอบเค้าต่อไป ^^ เป็นเพื่อนไปก่อนก็ดีเหมือนกัน
ต่อไปนี้ผมก็จะตั้งใจเรียนให้ดีแล้วครับเพราะเหลวไหลมานานเกินไปแล้ว สู้ๆๆโว้ย TON